กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ แจงดราม่ากรณีที่กลุ่มนักอนุรักษ์ออกมาเคลื่อนไหวร้องเรียนว่า ทาง อบจ.เชียงใหม่ ตัดต้นยางนาเก่าแก่สมัย ร5 ที่อนุรักษ์ไว้โดยไม่แจ้งเป็นสาเหตุให้ต้องยืนต้นตาย ซึ่งทางอบจ.ยืนยันว่าได้แจ้งกับทางกลุ่มนักอนุรักษ์แล้ว หลังพบว่าต้นยางนาต้นแรกยืนตันตายเอง ส่วนอีกต้นพบว่าเริ่มแห้งตาย แกนกลางต้นไม้เริ่มผุ เสี่ยงที่จะเป็นอันตรายกับผู้ที่ใช้เส้นทางสัญจรc2cd8873572e37fd86adbe2bc9cbf18d.jpgก่อนหน้านี้ในโลกออนไลน์มีมีการแชร์ภาพต้นยางนาสองต้นบริเวณ สี่แยกกองทราย จุดตัดถนนเชียงใหม่-ลำพูน(สายเก่า) กับถนนวงแหวนรอบนอกเชียงใหม่ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ตัดจนเหลือเพียงต้นที่สูงจากพื้นประมาณ 4-5 เมตรเท่านั้น และมีสภาพแห้งตายจนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารย์กันอย่างหนักถึงปัญหาการดูแลต้นยางนาอายุกว่าร้อยปี ที่ปลูกในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการอนุรักษ์ไว้ และวานนี้ ทีมหมอต้นไม้อาสา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมด้วยเครือข่ายเขียวสวยหอม และอาสาสมัครพิทักษ์ต้นยางนา นำโดยอาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย หัวหน้าทีมหมอต้นไม้อาสา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 07abf324e47f280313dd3daa26c5e5ff.jpgลงพื้นที่เข้าตรวจสอบต้นยางนา ต้นหมายเลข 656 นั้น ตายแล้ว แต่ต้นยางนาที่อยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก หรือต้นหมายเลข 671 ยังไม่ตายโดยพบว่าเปลือกไม้ตรงช่วงโคนต้นยังดิบ และน่าจะดูแลรักษาให้การฟื้นฟูสภาพได้แต่ต้องเร่งทำการเปิดหน้าดินโคนต้นเพื่ออัดน้ำ และสารอาหาร พร้อมกับระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นยางนาทั้ง 2 ต้น ที่ถูกตัดไปมีสภาพทรุดโทรมเนื่องมาจากการทำถนนที่มีการเททับพื้นดินไปหมด และที่วัสดุที่ใช้ในการทำถนนนั้นไม่มีความพรุนให้น้ำและอากาศไหลผ่านได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบราก รวมทั้งรถที่ผ่านไปมาบนถนนยังกดทับดินที่อยู่ข้างใต้จนแน่นและทำให้ระบบรากมีปัญหา19f03a530e2d9848a151f8282db2e061.jpgล่าสุดทางด้าน ทางด้าน นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการกองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ม่ พร้อมด้วย นายชัยศิลป์ ปัญญาบุตร หัวหน้าฝ่ายเครื่องจักรกล อบจ.เชียงใหม่ ได้มีการออกมาชี้แจง ในเรื่องดังกล่าว นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการกองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับอาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หรือหมอต้นไม้ ได้มีการดำเนินการสำรวจ ต้นยางที่มีเหลืออยู่ทั้งหมดปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 949 ต้น ซึ่งพบว่าต้นไม้ที่ถูกตัดนั้น หนึ่งต้นมีการตายแล้วจริง ส่วนอีกหนึ่งต้น 103f1a41dbb89fcc6156009601751d07.jpgทางเจ้าหน้าที่ได้ขึ้นไปทำการสำรวจบริเวณกิ่งไม้ พบว่ากิ่งไม้ดังก่าวได้แห้งตาย ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตัดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่ขับรถสัญจร ซึ่งหลังจากนี้ก็จะมีการจัดทำโครงการในการปลูกต้นยางเพื่อทดแทนต้นได้ที่ตายไปแล้ว เพื่อเป็นการอนุรักษ์ต้นยางนา ตามนโยบายที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้วางไว้ 2 ส่วน ส่วนแรกคือการดูแลอนุรักษ์ เช่นนการฟื้นฟูรากต้นยางที่อยู่ในพื้นที่ และส่วนที่สองคือการดูแลตัดแต่งกิ่งต้นยางนาเพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่ขับรถสัญจร เนื่องจากที่ผ่านมานั้นมีหลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์พายุฤดูร้อน และทำให้เกิดกิ่งแห้งหักโค่นลงมาทับทรัพย์สินและบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ซึ่งทาง อบจ.เชียงใหม่ ก็ได้มีการตั้งคณะเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปดูแลติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยขณะเดียวกันจากการตรวจสอบก็พบว่าต้นยางนั้นมีแมลงกัดเซาะ และกัดกินแกนด้านในต้น จึงต้องมีการตัดแต่งกิ่งอย่างต่อเนื่องทั้งปีb3e03d6924748cbdbd024a5b2ef4ab87.jpgด้าน นายชัยศิลป์ ปัญญาบุตร หัวหน้าฝ่ายเครื่องจักรกล อบจ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ทั้งนี้จากการตรวจสอบต้นยางนาทั้ง 2 ต้นดังกล่าวพบว่า หนึ่งในต้นไม้นั้นได้มีการตายจริง เนื่องจากเนื่องจากกรมทางหลวงได้มีการก่อสร้างทำถนน โดยการคลอบพื้นนผิวด้านบนทั้งหมด ส่งผลให้ระบบรากของต้นยาง ขาดอากาศและสารอาหาร ทำให้ต้นยางเริ่มยืนต้นตายโดยเริ่มตายจากกิ่งข้างบนแล้วค่อยๆ แห้งลงมา ส่วนต้นไม้อีกต้นนั้น จากการสำรวจพบว่าบริเวณโคนต้น ยังคงมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อขึ้นไปตรวจสอบบริเวณแกนกลางของลำต้น พบว่าได้มีโพรงที่เกิดจากแมลงเข้าไปกัดกิน จนทำให้ลำต้นเริ่มพุ และหากไม่ดำเนินนการตัดก็มีโอกาสที่จะเกิดการหักโค่นลงมาได้9c615220c464137c5c03abade6a50cf2.jpgทั้งนี้ได้ยืนยันว่าก่อนที่จะตัดได้มีการประสานไปยังตัวแทนเครือข่ายอนุรักษ์ที่ดูแลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ทั้งเครือข่าย เขียว สวย หอม รวมไปถึงเทศบาลตำบลหนองผึ้ง ให้รับทราบแล้ว ก่อนที่จะดำเนินการตัด ทั้งนี้ยังมีต้นยางนาหลายต้นก็เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งจะต้องมีการสำรวจโดยละเอียดอีกครั้ง ทั้งนสี้ถ้าหากมีการตรวจพบโพรงในนลำต้นได้ต้นใด ก็จะได้มีการปรึกาากับเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ยางนา และจะได้มีการตัดกิ่งได้ดังกล่าวทิ้ง เนื่องจากมีความอันตรายหากไม่มีการตัดและมีโอกาสเสี่ยงมากที่ลำต้นจะโค่นล้มลงทับบ้านเรือน และทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหาย