คณะแพทย์ มช.-บ.จีอี เมดิคอล ซิสเต็ม (ประเทศไทย) เปิดความร่วมมือโครงการอัลตร้า-ซาวน์แบบพกพา ขจัดข้อจำกัดการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และสนับสนุนการศึกษาในหลักสูตรแพทย์ขั้นสูงเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน33d8bed59e4f0c259e3e616c3a716cc6.jpgวันนี้(23 เม.ย.62) อาคารราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และชินตัน เดไซ COOจีอีเฮลท์แคร์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมด้วย ดร.ราจาน คาลิดินดี ผู้จัดการใหญ่ จีอี แฮลท์แคร์ ประเทศไทย4bb3c8096b34e966b3bd97eee38feb0c.jpg ร่วมกันทำพิธีเปิดความร่วมมือโครงการอัลตร้า-ซาวน์แบบพกพา “Ultrasound in Curriculum” ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ บริษัท จีอี เมดิคอล ซิสเต็ม (ประเทศไทย) เพื่อสนับสนุนการศึกษาในหลักสูตรแพทย์ขั้นสูงเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาแพทย์กว่า 200 คน ในการศึกษาหลากหลายสาชาวิชาชีพแพทย์ สามารถเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลและถิ่นทุรกันดารในภาคเหนือช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที9f64e48c0a0cdd4ffb414b0a37ca4254.jpgคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ บริษัท จีอี เมดิคอล ซิสเต็ม (ประเทศไทย) ครั้งนี้ เป็นอีกขั้นของเทคโนโลยีการแพทย์ด้านอัลตราซาวน์กับการพัฒนาการศึกษาต่อทางการแพทย์ขั้นสูงแห่งแรกในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน โดยทางบริษัท จีอี ให้การสนับสนุนเครื่องอัลตราซาวน์แบบพกพารุ่นล่าสุด ที่จะยังประโยชน์ต่อนักศึกษาแพทย์กว่า 200 คนที่จะได้ใช้เครื่องมืออัลตราซาวน์เป็นส่วนหนึ่งของในการศึกษาหลากหลายสาชาวิชา อาทิ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ รังสีวิทยา สาขาศัลยศาสตร์ และ สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน นอกจากนี้การใช้เครื่องมืออัลตราซาวน์แบบพกพาในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงของแพทย์ถือเป็นการข้ามข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยในแหล่งห่างไกลและถิ่นทุรกันดารในภาคเหนือba7cb970b9cd4864360a8be46cc03d90.jpgทั้งนี้เครื่องอัลตราซาวน์แบบพกพายังเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานของทีมแพทย์ฉุกเฉินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศภาคเหนือ (Northern Sky Doctor) เพื่อนับเป็นบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนในการสนับสนุนด้านการถ่ายทอดเทคโลยีการศึกษาต่อขั้นสูงของแพทย์ในประเทศไทย 5aca94f496f1c51b57b2ee1ca29329d5.jpgรวมถึงสอดคล้องกับหนึ่งในพันธกิจหลักของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของการศึกษาให้เป็นยอมรับในระดับสากล โดยคาดหวังว่าการนำเครื่องมืออัลตราซาวน์แบบพกพาเข้ามาในหลักสูตรการเรียนการสอนจะช่วยเพิ่มพูนขีดความสามารถ และทักษะการประเมินภาวะความเสี่ยงเบื้องต้นของคนไข้ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยโรคและส่งต่อการรักษาโรคได้อย่างฉับไวและทันท่วงทีe1aaa518ead0df375dcb602783be6255.jpgโดยนักศึกษาแพทย์ในสหสาขาวิชาที่ทำการศึกษาต่อในหลักสูตรดังกล่าวของคณะ จะได้รับการฝึกอบรมให้ใช้สามารถใช้เครื่องมืออัลตราซาวน์แบบพกพาในการทำ Fast-Scanning ในส่วนอวัยวะหลักที่สำคัญของร่างกาย ได้แก่ ระบบหัวใจ ระบบปอด และ ระบบช่องท้อง โดยทราบผลภายในระยะเวลา 10 นาที จึงสามารถประเมินร่างกายผู้ป่วยก่อนการวินิจฉัยโรคได้อย่างเหมาะสม และสามารถส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาในแผนกต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการส่งตรวจอัลตราซาวน์แบบเต็มรูปแบบในผู้ป่วยบางรายอีกด้วย”