5d5e61a3ea6bcfe14aef617bc077fc5f.jpg
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ชื่นชมผู้เสียชีวิต และญาติ ของว่าที่ ร.ต.ศุภลักษณ์ โนพี อายุ 32 ปี เสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าช๊อตแต่ญาติตัดสินใจบริจาคอวัยวะ ต่อชีวิตใหม่อีกถึง 5 ชีวิต เมื่อสามารถบริจาคได้ทั้ง ไตทั้ง 2 ข้าง หลอดเลือด และดวงตา
344b34b2099c7ba414b26025c281d1f2.jpg
59ad110b678ffa78b559701ccc48f91e.jpg
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยโรงพยาบาลมหารนครเชียงใหม่ได้โพสต์เรื่องรางที่น่าประทับใจและแสดงความชื่นชม ผู้เสียชีวิต และญาติ ที่ตัดสินใตบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยเรื่องราวนี้เกิดขึ้นที่ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 ว่าที่ ร.ต.ศุภลักษณ์ โนพี อายุ 32 ปี ได้ทำงานเกี่ยวกับงานการดูแลระบบไฟฟ้า ถูกไฟฟ้าช๊อต โดยถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลลำปาง มายังโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยการรักษาเบื้องต้น ตรวจพบว่าผู้ป่วยมีอาการไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น เข้าสู่ภาวะโคม่า08edd651981f2a6d7f22bb16c00f584c.jpg
f7933d929af148eddaebd1de671def8c.jpg
ทีมแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้ทำการตรวจประเมินพบว่า ผู้ป่วยไม่มีการตอบสนอง และมีภาวะสมองตาย ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่า ผู้ป่วยได้เสียชีวิตลงแล้ว ผู้เป็นพ่อและแม่ รวมถึงภรรยา จึงได้ตัดสินใจที่จะบริจาคอวัยวะ เพื่อทำบุญให้กับผู้ป่วย
ด้าน อ.นพ.ศิวัฒม์ ภู่ริยะพันธ์ ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายไต หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “ในประเทศไทยการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยที่รอรับอวัยวะ มาจาก 2 กรณีเท่านั้นคือ จากผู้บริจาคสมองตาย ทางกฏหมายและทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้เสียชีวิตแล้วและจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต ตามข้อบังคับแพทยสภา (ญาติโดยสายโลหิต และสามีภรรยา)c391bb5111ba70b9085b0ab09cae3e62.jpg
0fad0a5a9adfba20d0d7a7dbc8b15d6b.jpg
อวัยวะและเนื้อเยื่อที่สามารถปลูกถ่ายได้ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทย แพทย์สามารถนำอวัยวะ และเนื้อเยื่อที่ได้รับจากการบริจาคเพื่อนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย ให้มีชีวิตใหม่กลับมาอีกครั้ง โดยสามารถนำไปใช้ได้หลายอวัยวะด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนของอวัยวะ ได้แก่ ไต 2 ข้าง ปอด 2 ข้าง หัวใจ ตับอ่อน ตับ และส่วนเนื้อเยื้อได้แก่ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือด ผิวหนัง กระดูก เส้นเอ็น กระจกตา743f6f27aa8ee8749a8bc428f18378ce.jpg105092df0dc695f25d47a707716fbeaa.jpg
หลายท่านอาจจะมีความหวังว่าญาติที่นอนสงบนิ่งอยู่บนเตียง เนื่องจาก ผู้ป่วยมีการหายใจ ชีพจรยังเต้นอยู่ แม้หัวใจยังเต้นอยู่ แต่แท้ที่จริงผู้ป่วยอาศัยการหายใจจากเครื่องช่วยหายใจและยากระตุ้นหัวใจ ทุกครั้งในการบริจาคอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย แพทย์จะมีการทดสอบว่าอยู่ในภาวะสมองตายจริงหรือไม่โดย แพทย์จะวินิจฉัยภาวะสมองตายว่าต้องมีการพิสูจน์เป็นหลักฐาน หากมีภาวะสมองตาย หัวใจที่เต้นอยู่ในอีกประมาณ 48-72 ชั่วโมง หัวใจจะหยุดเต้นเอง เพราะก้านสมองส่วนที่ควบคุมการเต้นของหัวใจหยุดทำงาน
การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยสมองตาย ต้องกระทำตามข้อบังคับของแพทยสภาอย่างเคร่งครัด โดยแพทย์ 3 ท่านที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่ายอวัยวะ มีการตรวจสอบกันอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หลังจากที่แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะสมองตายแล้ว จะต้องมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อกำกับ ถึงจะได้รับการผ่าตัดนำอวัยวะออกโดยทีมผ่าตัด”1fc2cf2f51a3d4d42a06a4bedddba141.jpg
adc924732aca58a9c617c376a9e0c19e.jpg
ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ที่รอการบริจาคอวัยวะ อยู่จำนวน 5,800 กว่าราย ในขณะที่ทุกวันนี้มีการปลูกถ่ายอวัยวะปีหนึ่งเพียงแค่ 600-700 ราย เพราะฉะนั้นยังมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ว่าจะเป็นหัวใจวาย ตับวาย ไตวายที่ยังรอการปลูกถ่ายอวัยวะ ยังไม่รวมถึงผู้ป่วยที่มีความพิการเกี่ยวกับกระจกตา ดังนั้นการบริจาคอวัยวะเป็นการให้ที่ไม่สิ้นสุด เป็นที่สุดแห่งการให้ และสามารถจะช่วยชีวิต ต่อชีวิต สร้างชีวิตใหม่ ให้กับผู้ป่วยอีกหลายคนที่ยังรอการปลูกถ่ายอวัยวะ
สำหรับ ขั้นตอนการบริจาคอวัยวะ
1. กรอกรายระเอียดในแบบฟอร์ม บริจาคอวัยวะ จุดประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
2. แอปพลิเคชั่น ชื่อ บริจาคอวัยวะ สามารถกรอกรายละเอียดได้ ติดต่อสอบถาม : 089-9996000, 0918513391 แสดงความจำนงเพื่อบริจาคอวัยวะได้ที่ ศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ชั้น 8 อาคารสุจิณโณ
***ภาพและบทความนี้ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่จากญาติของผู้เสียชีวิตแล้ว
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่