ช่วงสายวานนี้ (24 ก.ย.61) ที่บ้านหนองปู หมู่ที่ 3 ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ว่าที่ร้อยตรีบำรุงเกียรติ วินัยพานิช นายอำเภอดอยเต่า เป็นประธานในพิธีเปิดงานหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีตัวแทนผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของชุมชนในการสร้างรายได้โดยการขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีอยู่ในชุมชนให้กับนักท่องเที่ยว รวมไปถึงเป็นการสร้างสรรค์ทุนชุมชน ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม เสน่ห์และอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท่องถิ่นได้อย่างยืนต่อไป08a5d281b4a6469ca3ad6747e852546e.jpg
สำหรับบ้านหนองปู หมู่ที่ 3 ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า  จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี เนื่องด้วยเป็นหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางด้านผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงของชนเผากะเหรี่ยงบ้านหล่ายแก้วที่มีสีสันหลากสีและสวยงาม มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้ายตั้งแต่กระบวนการปลูกต้นฝ้ายไปจนถึงกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งยังมีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง อาทิเช่น การสักขาลาย หรือ การสักเตี่ยวก้อม ซึ่งเป็นที่นิยมของชายในหมู่บ้านเพื่อเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเข้มแข็งของลูกผู้ชาย ที่ยังคงสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันdaa0b3526a638c9ce30e30f91560daf6.jpg
โดยทางด้าน ว่าที่ร้อยตรีบำรุงเกียรติ วินัยพานิช นายอำเภอดอยเต่า เปิดเผยว่า การเปิดตัวหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านหนองปู หมู่ที่ 3 ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยเต่าได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในการมีส่วนร่วมเพื่อผลักดันให้ บ้านหนองปู หมู่ที่ 3 ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ก้าวไปสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งในวันนี้ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดี ที่หลายฝ่ายได้มาร่วมในพิธีเปิดตัวตัวหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี0fb6ed0bc529c47b04d492f1186fb4f1.jpg
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กรมการพัฒนาชุมชนได้มุ่งเน้นในการดำเนินงานส่งเสริมการผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้คุณภาพ และมาตรฐานสากล อีกทั้งยังคงอัตลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ในวันนี้ กรมการพัฒนาชุมชนกำลังจะพลิกโฉมหน้าของผลิตภัณฑ์ OTOP จากการผลักดันสินค้า OTOP ให้ออกไปขายนอกชุมชน มาเป็นการส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้ตามความต้องการของชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง สร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยวระดับหมู่บ้าน ที่ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความสุขเป็นที่ตั้ง เพื่อก้าวไปสู่ความ “มั่งมี ศรีสุข” อย่างแท้จริง ตามแนวคิดหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี2b79145c613469f676021f9ff5172064.jpg
โดยกระบวนการทำงานนั้น จะการดำเนินงานให้สอดคล้องกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ซึ่งเป็นแผนแม่บทของรัฐบาลเป็นกรอบในการวางแนวการทำงาน 3 เรื่อง คือ 1. ดึงเสน่ห์ชุมชนที่มาจากต้นทุนต่างๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ต้นทุนด้านวัฒนธรรม/ภูมิปัญญา 2.การปรับปรุงสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายการตลาด และ 3.เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนพร้อมพัฒนาแอพพลิเคชั่น (application) และช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงข้อมูลชุมชนได้อย่างสะดวก รวดเร็วอีกด้วย