3ae6d8388c74a98b87b26330a8c21363.jpg
พายุหลงฤดูพัดถล่มพื้นที่อำเภอกัลยานิวัฒนา พัดหลังคาบ้านเรือนประชาชนปลิวหายหลายหลังคาเรือน ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือย้ำเตือนพื้นที่ภาคเหนือยังมีพายุฝนฟ้าคะนองและพาุลกเห็บได้อีก 1 วัน หลังจากนั้นช่วงวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ มวลอากาศเย็นจะเข้ามาแทนที่ทำให้อนาวเย็นลงอีกระลอก 3-5 องศา4db898b73cba2190a5cdaed5c6577888.jpg
d6466f9db07bfde7577b59053d7ebfca.jpg
79e5371712a517d3245fc71e0dfc12de.jpg
พื้นที่ภาคเหนือยังคงมีสภาพอากาศแปรปรวน กับมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และพายุลูกเห็บได้ในหลายพื้นที่ โดยที่จังหวัดเชียงใหม่มีรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 17.25 น ของวานนี้(5 ก.พ.65) สำนักงานป้องกันและบรรรเทาสาธารณะภัย จ.เชียงใหม่ได้รับรายงานว่า ที่ตำบลวัดจันทร์ อ.กัลยานิวัฒนา ได้เกิดพายุฝน และลมกระโชกแรง เป็นเหตุให้ หลังคาบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ ร่วม 10 หลังคาเรือนได้รับความเสียหายจากลมกระโชกแรงพัดหลังคาสังกะสี และหลังคากระเบื้องถูกแรงลมพัดปลิวไปไกล รวมทั้งมีต้นไม้ กิ่งไม้ หักโค่นใส่บ้านเรือน และพื้นที่ชุมชนได้รับความเสียหายด้วย โชคดีที่ยังไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว ล่าสุดทางอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือ และเร่งเข้าสำรวจความเสียหายแล้วd8f4c162c8d7b3e6d6e17db743338ab3.jpg
7b680d55250bc6f2c7e1b61d6be7763e.jpg
87e06f7810bb6ab4eb855da53236386e.jpg
สำหรับตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่อำเภอใกล้เคียงพบว่าในคืนที่ผ่านมาฝนตกตกหนักในหลายพื้นที่ยังไม่มีรายงานความเสียหายเข้ามา ส่วนเช้านี้ในตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงมีเมฆฝนครึ้มดำปกคลุมแนวเขาของดอยสุเทพทางด้านทิศตะวันตกของเมืองอยู่ ซึ่งคาดว่านช่วงบ่ายถึงค่ำยังมีโอกาสที่จะมีฝนตกลงมาได้อีกในหลานพื้นที่69128336793eec453b574ca1feb40f6f.jpg
c1ff0282bad4301ff27d214ed390a12d.jpg
ทางด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ รายงานว่า พื้นที่ภาคเหนือของไทยยังจะมีสภาพอากาศแปรปรวนนได้อีก 1 วัน เป็นผลมาจาก คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร และสุโขทัย ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วยc37a7bfee2daafc4f176a5c81d944db5.jpg
7f49c65787dd39c413b17e0693bd7619.jpg
อนึ่งในช่วงวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน จะทำให้ช่วงดังกล่าวปริมารณฝนเริ่มลดลง และมีอากาศหนาวเย็นเข้ามาแทนที่ อุณหภูมิจะลดลงได้อีก 3-5 องศาเซเซียส ประชาชนในพื้นที่เตรียมรับมือสภาพอากากาศที่เปลี่ยนแปลงในช่วงดังกล่าวระวังรักษาสุขภาพสำหรับผู้ที่มีอาการป่วย เด็กเล็ก และคนชราต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
https://youtu.be/64TH4dnhyPA