msWuWR.jpg
ภาคประชาชนนำรายชื่อที่ร่วมสนับสนุน เข้าฟ้องนายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่แล้ว กรณีไม่ปกป้องประชาชนจากวิกฤติหมอกควัน และฝุ่นพิษ PM2.5 รอลุ้นผลว่าศาลปกครองจะรับฟ้องหรือไม่หลังจากที่ครั้งแรกไม่รับฟ้องมาแล้ว 1 รอบ
msW268.jpg
msW6K0.jpg
msWnAu.jpg
เมื่อเวลา 10.00 น. ที่บริเวณด้านหน้าศาลปกครองเชียงใหม่ ในพื้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน นำโดยมูลนิธินิติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชาชนชาวเชียงใหม่ แพทย์ นิสิตนักศึกษา ผู้สมัคร สส. และแกนนำ ของพรรคการเมืองมารวมกิจกรรม การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ และร่วมขบวนเดินไปส่งตัวแทน เข้าฟ้องพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ,รัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้อง,คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ เพื่อให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง, พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ปฏิบัติการตามกฎหมายและนโยบายที่ได้มีการจัดทำไว้เพื่อลดทอนความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นควันที่เกิดขึ้น msWreZ.jpg
msWHkI.jpg
msWVOP.jpg
msWXat.jpg
โดยทางกลุ่มได้มีการทำกิจกรรการแสดงเชิงสัญลักษณืโดยนำลูกโป่งสีดำและขาว มาเป่า พร้อมผูกดอกไม้จันท์ และทำการแสดงที่สะท้องให้เห็นถึงอากาศที่ไม่ดีจากหมอกควันไฟป่า และฝุ่นพิษ PM2.5 ซึ่งประชาชนในพื้นที่ต้องดินรนเพื่อหาอากาศที่สะอาดหายใจ โดยไม่สนใจว่าเชียงใหม่เองก็มีประชาชนชาวไทยอยู่อาศัยแตกต่างจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพ ที่ได้รับการดูแลเยียวยาและแก้ไขปัญหาก่อนพื้นที่อื่นอย่างภาคเหนือ
หลังจากนั้นเวลา 10.30 น.ทางกลุ่มได้เดินชูป้ายเพื่อไปส่งตัวแทนเข้าไปยื่นฟ้องต่อศาล และไปยืนชูป้ายที่หน้าศาลปกครองเชียงใหม่ ก่อนที่จะออกมารอด้านนอกเพื่อลุนว่าศาลปกครอจะรับฟ้องในครั้งนี้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาภาคประชาชน ก็ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองไปแล้วครั้งหนึ่ง จนกระทั่งวันที่ 30 มี.ค.2566 ศาลปกครองเชียงใหม่ได้อ่านคำพิพากษา ยกฟ้องปม โดยให้เหตุผลว่านายกรัฐมนตรี ไม่ได้ละเลยหน้าที่ ยังอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ ที่สำคัญตัวเลขฝุ่นพิษยังไม่เกินกำหนด ซ้ำผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนก็ไม่มี แต่ครั้งนี้นอกจากข้อมูลเรื่องของค่ามลพิษที่เกินค่ามาตรฐานมากกว่า 90 วันแล้วยังมีข้อมูลเชิงลึกทางด้านการแพทย์จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก PM2.5 รวมทั้งรายชื่อของประชาชนที่เข้าร่วมสนับสนุน ที่ร่วมลงลายมือชื่อจำนวน 727 ราย และลงชื่อออนไลน์ 980 ราย เข้าฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่msWeKE.jpg
msWmPN.jpg
msWyeV.jpg
msWI3Q.jpg
ทางด้านนายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันนี้มรร่วมฟ้องเพราะรู้สึกว่าปีนี้สถานการณ์หมอกควันหนักเกินคุณภาพอากาศวิกฤติสูงเกิจนค่ามาตรฐานกว่า 80-90 วัน และขึ้นสู่อันดับ 1 ของโลกมาหลายวันต่อเนื่อง โดยยังไม่มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน และเกิดผล ออกมาจากทางภาครัฐ ที่สำคัญสถานการณ์ปีนี้ก็เชื่อว่าเหลืออีกไม่กี่วันที่ฝนจะมาช่วยคลี่คลาย จึงมีความกังวลว่า ในปีต่อๆไป โดยเฉพาะปีหน้าซึ่งมีการประเมินสถานการณ์แล้วว่าจะแล้งหนักกว่าปีนี้ จึงอยากจะเห็นมาตรการ นโยบาย ที่ออกมาแตกต่างจากการแก้ปัญหาแบบ อีเว้นท์ อย่างที่ผ่านมา โดยจะติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องหวังว่าปีหน้าประชาชน และลูกหลานจะไม่เจอสถานการณ์แบบนี้ ซึ่งทั้งคนเชียงใหม่ คนภาคเหนือ และคนทั่วประเทศทนไม่ไหวแล้ว
msWpze.jpg
msWvxl.jpg
msWGnk.jpg
msWLWv.jpg
ทั้งนี้เป็นการใช้ช่องทางกระบวนการยุติธรรมเพื่อยื่นฟ้องทางปกครอง ต่อนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งนี้ เพราะไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ปี 2535 โดยเฉพาะใน มาตรา 9 ที่ระบุว่า เมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุภยันตรายต่อสาธารณชน อันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ หรือภาวะมลพิษที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนั้นจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของประชาชน ให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควร ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลใด รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับหรืออาจได้รับอันตรายหรือความเสียหายดังกล่าว กระทำหรือร่วมกันกระทำการใด ๆ อันจะมีผลเป็นการควบคุม ระงับ หรือบรรเทา ผลร้ายจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างทันท่วงที หากทราบว่าบุคคลใดเป็น ผู้ก่อให้เกิดภาวะมลพิษดังกล่าว ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลนั้นไม่ให้กระทำการใดอันจะมีผลเป็นการเพิ่มความรุนแรงแก่ภาวะมลพิษในระหว่างที่มีภยันตรายดังกล่าวด้วย อีกทั้งตามมาตรา 9 ยังระบุให้นายกรัฐมนตรี สามารถมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการภายในเขตจังหวัดแทนนายกรัฐมนตรีได้ โดยให้ทำเป็นคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งในมาตรา 10 ยังระบุไว้ด้วยว่า เพื่อป้องกันแก้ไข ระงับหรือบรรเทาเหตุฉุกเฉิน หรือเหตุภยันตรายจากภาวะมลพิษดังกล่าว ให้รัฐมนตรีกำหนดมาตรการป้องกัน และจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าด้วย