จากกรณีที่กำลังเป็นประเด็นในโลกออนไลน์ว่าสัญญาณโทรศัพท์มีผลกระทบต่อสุขภาพ เบื้องต้นเพื่อเป็นข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ กับผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อความไม่ตระหนก โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก และ กสทช. ผู้เชี่ยวชาญ WHO ส่งหนังสือแจ้งเลขาธิการ กสทช. ยืนยันผลการศึกษาระบุ การปล่อยคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือจากเสาสัญญาณไม่กระทบต่อสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งหนังสือแจ้งเลขาธิการ กสทช.ยืนยันผลการศึกษาระบุการปล่อย คลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือจากเสาสัญญาณ ไม่กระทบสุขภาพ จากกรณีที่ กสชท.ได้ทำหนังสือ เพื่อขอคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในประเด็นที่ประชาชนยังคงวิตกกังวลการส่ง สัญญาณคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือจากสถานีฐาน จะมีผลต่อสุขภาพร่างกาย
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทศัน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยเมื่อวนัที่ 13 พ.ย.2561 ว่า ดร.อีมิลี ฟาน เดเวนเตอร์ หัวหน้า คณะรังสีวิทยา องค์การอนามัยโลก ทำหนังสือตอบกลับมาแล้วกรณีสำนักงานกสทช.ได้สอบถามใน ประเด็นความปลอดภัยจากคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งสญัญาณผ่านสถานีฐาน ดร.เดเวนเตอร์ ยืนยนัผล การศึกษาระยะ 10 ปี ระหว่างปี 2539-2549 ระบุไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถชี้ได้ว่าการส่ง สัญญาณในคลื่นความถี่ระหว่าง 0-300 กิกะเฮิรตซ์ จากสถานีฐานและการใช้โทรศพัท์เคลื่อนที่มีผลร้ายแรง ต่อสขุภาพ นายฐากร กล่าวว่า ดร.ฟาน เดเวนเตอร์ ยงัระบุในจดหมายว่าในปี 2553 คณะนักวิทยาศาสตร์ของ องค์การอนามัยโลก ได้ศึกษากรณีการส่งคลื่นสัญญาณเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่จากสถานีฐานก็ยังไม่พบ หลักฐานว่าคลื่นความถี่มีผลต่อสุขภาพ หลังจากนั้นองค์การอนามัยโลกยังศึกษาอย่างต่อเนื่องจนถึง ปัจจบุนัถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพร่างกายกับการปล่อยคลื่นความถี่จากอุปกรณ์ไร้สายและสถานีส่ง สัญญาณคลื่นโทรศัพท์ ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ใดๆ อีกเช่นกัน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกจะจัดประชุมใน ประเด็นคลื่นความถี่จากโทรศัพท์มือถือกับสุขภาพของผู้คนอีกครั้งในเดือนมิถุนายน ปีหน้า(2562) ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์การอนามัยโลกเชิญตัวแทน กสทช.ไปร่วมประชุมด้วย
ก่อนหน้านี้นายฐากร ได้ทำหนังสือไปยัง ดร.เดเวนเตอร์ ลงวันที่ 9 ต.ค. 2561 ขอคำแนะนำจาก องค์การอนามัยโลกกรณีที่ประชาชนยังคงวิตกกังวลการส่งสัญญาณคลื่นความถี่โทรศพัท์มือถือจากสถานี ฐานจะมีผลต่อสุขภาพร่างกาย แม้ว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาทั้งจากองค์การอนามัยโลกและ หน่วยงานเกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ยืนยันว่าไม่มีผลต่อสุขภาพ จึงเป็นที่มาของ หนังสือตอบกลับจาก ดร.เดเวนเตอร์ ลงวันที่ 6 พ.ย. 2561
ในขณะเดียวกัน นายฐากรและผู้ชี่ยวชาญด้านคลื่นความถี่ของสำนักงาน กสทช. เดินทางเข้าร่วม การประชุมความร่วมมือระดับโลกว่าด้วยนโยบายด้านสุขภาพและการวิจัยเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ กลอร์ (Global Coordination of Research and Health Policy on RF Electromagnetic Fields : G L O R E ) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 12-14 พ.ย. 2561
นายฐากร ได้รายงานสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกบัการขยายโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศไทย ว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง โดยเฉพาะความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพจากการตั้งเสา สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนคนไทย อันเนื่องมาจากพัฒนาการที่รวดเร็วของการขยาย โครงข่ายการใช้งานคลื่นความถี่แบบไร้สายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การร้องเรียนเรื่องสขุภาพมีหลากหลายในแง่ของผลกระทบเช่น ปวดศีรษะ หน้ามืด อ่อนแรง หรือแม้แต่อ้างว่าเป็นมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งการร้องเรียนต่างๆ เหล่านี้ส่งไปยังหลายหน่วยงานทั้งในระดับ ท้องถิ่น สื่อสาธารณะ หรือแม้แต่ศาลปกครอง
เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามหาวิธีแก้ไขป้องกันเพื่อให้ ประชาชนปลอดภัยโดสำนักงาน กสทช. ได้ออกประกาศในปี พ.ศ. 2549 เพื่อบังคับใช้มาตรฐานการส่ง สัญญาณคลื่นความถี่ของ 1998 ICNIRP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการกำกับการปล่อยคลื่นความถี่ รวมถึง จำกัดความแรงของคลื่นที่สถานีฐานปล่อยออกมา มาตรฐานอันนี้เป็นแนวทางที่หลายๆ ประเทศรวมถึง สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และองค์กรอนามัยโลก เลือกใช้
นอกจากนี้ทางสำนักงาน กสทช. มีทีมเจ้าหน้าที่ 25 เขต สุ่มตรวจสอบสถานีฐานทั่วประเทศว่า เป็นไปตามข้อกำหนดของหลักเกณฑ์ดังกล่าวหรือไม่ รวมถึงยังจัดการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ ประชาชนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องของความปลอดภัยของการใช้งานคลื่นความถี่ และให้ทาง ผู้ประกอบการเอกชนสร้างความรู้และความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ที่มีการติดตั้งสถานีฐานอีกด้วย
“ถึงแม้ว่าทางสำนักงานจะใช้หลักมาตรฐานสากลในการควบคมุการปล่อยคลื่นความถี่ของสถานี ฐานและการสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน แต่ก็ยังพบข้อร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง กสทช. คิดว่าความกังวลของประชาชนในเรื่องนี้จะเป็นอุปสรรคสำคัญของประเทศในการเข้าสู่ยุค เศรษฐกิจดิจิทัลที่การใช้คลื่นความถี่ในการติดต่อสื่อสารของเทคโนโลยีนั้นมีแต่จะมากขึ้น โดยเฉพาะ เทคโนโลยีใหม่ 5G ที่ต้องวางเสาสัญญาณมากกว่าเทคโนโลยี 3G และ 4G ที่ใช้ในปัจจุบัน” นายฐากร กล่าวในที่ประชุม
เลขาธิการ กสทช. กล่าวด้วยว่า ในการประชมุ GLORE 2018 ทาง กสทช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะ ให้ความช่วยเหลือในเรื่องของผลการศึกษาและหลักฐานรวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาความกังวลของ ประชาชนที่คดิว่าคลื่นความถี่มีอันตรายต่อสุขภาพที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่นี้
ทั้งนี้ทางสำนักงาน กสทช. ได้เสนอต่อที่ประชุมของ GLORE ว่าจะเชิญผู้เชี่ยวชาญขององค์การ อนามัยโลก สมาชิกของ GLORE ทั่วโลกเข้าที่ประชุมในประเทศไทย สำนักงาน กสทช.พร้อมจะเป็น เจ้าภาพและหารือในประเด็นต่างๆ เกี่ยวข้องระหว่างคลื่นความถี่กับสุขภาพร่างกาย