ตัวแทนของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือพร้อมด้วยตัวแทนของชาวบ้านจากอำเภออมก๋อยเดินทางมารวมตัวกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร ยุติการละเมิดสิทธิชุมชนในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ขณะที่ชาวบ้านในอำเภออมก๋อยคัดค้านประทานบัตรเมืองแร่ถ่านหินในพื้นที่อำเภออมก๋อย ส่งตัวแทนเข้าพบผู้ว่าเพื่อหาทางแนวทางในการช่วยเหลือ
ที่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่กลุ่มตัวแทนของเกษตรกรจากสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือหรือศกอนอพร้อมด้วยตัวแทนของชาวบ้านในพื้นที่อำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 150 คนได้เดินทางมารวมตัวกันที่ดันหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเรียกร้องที่จะพบกับผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เพื่อยื่นหนังสือผ่านไปยังนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร
โดยในส่วนของสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือหรือ สกน. ได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีทบทวนนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาซึ่งสิทธิของเกษตรกรสิทธิชุมชนโดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่รัฐไม่ยอมรับสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนประกอบด้วยการออกกฏหมาย พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติและพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า รวมทั้งนโยบายตามมติของคณะกรรมการ นโยบายที่ดินแห่งชาติที่เพิ่มอำนาจให้หน่วยงานของภาครัฐและเมื่อสิทธิ์ในที่ดินทำกินของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆในพื้นที่ภาคเหนือทางกลุ่มขอเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้ทบทวนนโยบายดังกล่าวเพื่อคืนสิทธิ์ให้กับชุมชนมีอำนาจในการจัดการอย่างแท้จริง
ส่วนนโยบายการปฏิรูปที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนและธนาคารที่ดินที่มุ่งหวังให้เกิดการกระจายการถือที่ดินให้เป็นธรรมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ที่เห็นชอบให้มีการดำเนินโครงการนำร่องแก้ไขปัญหาที่ดินของเกษตรกรรายย่อยภายใต้นโยบายกองทุนธนาคารที่ดินจนเกิดสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินเมื่อปี 2558 โดยมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการนำร่องธนาคารที่ดินสี่ชุมชนและพื้นที่อื่นๆที่ยังรอคอยการแก้ไขปัญหาอยู่นั้น แต่การดำเนินการกลับไม่มีความคืบหน้าและไม่เป็นไปตามข้อเสนอและเจตนารมณ์ของภาคประชาชนจึงขอให้มีการทบทวนเรื่องดังกล่าวโดยเร่งด่วน
ขณะเดียวกันตัวแทนของภาคประชาชนจากอำเภออมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่ก็ได้มาร่วมยื่นหนังสือคัดค้านโครงการเหมืองแร่ถ่านหินในพื้นที่อำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็น โครงการเปิดเหมืองแร่ถ่านหิน โดยบริษัทเอกชนรายหนึ่งได้ขอเข้ามาสำรวจ พร้อมทั้งขอประทานบัตรไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2543 บนพื้นที่กว่า 284 ไร่ จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รวมถึงที่ผ่านมามีการทำประชาคมหมู่บ้าน และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ เมื่อปี 2554 โดยหวั่นว่าจะกระทบกับวิถีชีวิต จากการก่อสร้าง และขนส่งแร่ถ่านหิน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแหล่งต้นน้ำ ทั้งนี้ชาวอมก๋อย ส่วนใหญ่ทำการเกษตร และไม่ได้รับผลประโยชน์จากการทำเหมืองแร่ดังกล่าว
โดยหลังจากที่นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่ราชการจังหวัดเชียงใหม่มรับหนังสือ พร้อมกับเชิญตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมขึ้นไปหารือถึงแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ กลุ่มชาวบ้านก็ยังปักหลักรับประทานอาหารบนพื้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดเพื่อรอผลการหารือต่อไป