2baf2ee31efc317ac9a5ef264fe358d8.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขับเครื่องบินส่วนตัวบินด่วน นำทีมแพทย์จุฬาฯ ผ่าตัดหัวใจจากผู้บริจาคอวัยวะ ที่ โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ นำไปช่วยเหลือผู้ป่วยด้านหัวใจที่กรุงเทพ
วันนี้ (8 ก.ย. 62) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำคณะทีมแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาทำการผ่าตัดรับมอบหัวใจ จากผู้ที่ได้แจ้งความประสงค์บริจาคอวัยวะไว้กับทางโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งต่อไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ภายใต้การดำเนินโครงการ “หัวใจติดปีก”2441c661c991bf34bfa3c3216ce1c48f.jpg
20517dab0b4d04977d40a51cc75cc61a.jpg
5584fc4e0ddfa29ee8fa2fc9a66160cb.jpg
นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า การเดินทางมารับบริจาคหัวใจในครั้งนี้ เริ่มดำเนินการหลังจากทราบว่า มีผู้ป่วยของโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชายวัย 25 ปี ประสบอุบัติเหตุ และได้แจ้งความจำนงขอบริจาคหัวใจและอวัยวะอื่นๆ ไว้กับทางโรงพยาบาล โดยได้รับการยินยอมจากญาติของผู้ป่วยแล้ว จึงได้นำทีมคณะแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ เดินทางมาทำการผ่าตัดอวัยวะ ประกอบด้วย หัวใจ 1 ดวง ไต 1 ข้าง และดวงตา 1 คู่ จากผู้ป่วยรายดังกล่าว เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยรายอื่นที่รอการช่วยชีวิตอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ในขณะนี้ โดยเฉพาะการผ่าตัดหัวใจ นั้น ทางทีมแพทย์มีความต้องการและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดย หัวใจ 1 ดวง จะต้องส่งต่อและปลูกถ่ายอวัยวะทันทีภายใน 4 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นหัวใจจะขาดเลือดนาน ซึ่งทีมงานแพทย์ก็ปฏิบัติหน้าที่ได้ทันตามเวลาที่กำหนด83035668f8c610fc29ca0f1bcef8d0ea.jpg
4d9a64144c8402fa94035971b455cf2c.jpg
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบแล้วพบว่า สภาพของหัวใจของผู้บริจาคยังอยู่ในสภาพที่แข็งแรงดีมาก หัวใจยังมีความสดและมีสัญญาณชีพที่ดี ทำให้มั่นใจว่า ผู้ที่จะรับหัวใจดวงนี้ไป จะต้องมีชีวิตต่อไปได้อย่างแน่นอน เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะอื่นๆ ที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็จะมีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ มารับไตอีก 1 ข้าง ด้วย ดังนั้น การบริจาคหัวใจและอวัยวะของผู้ป่วยรายนี้ จะสามารถช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นได้ถึง 4 ราย ในครั้งเดียว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวอีกว่า การลงพื้นที่นำคณะแพทย์มาทำการผ่าตัดหัวใจ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยรายอื่นนั้น ตนเองได้ดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว โดยทำไปแล้ว 25 เคส และเคสนี้ถือเป็นรายที่ 26 โดยมองว่า การบริจาคหัวใจและอวัยวะเป็นเรื่องที่ดีมาก เป็นบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ถือเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ควรได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ ผู้ที่บริจาคหัวใจและอวัยวะให้กับผู้อื่น จึงอยากเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมกันทำบุญด้วยการบริจาคหัวใจและอวัยวะให้กับโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อนำไปพัฒนาและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีผู้รอรับบริจาคอวัยวะกว่า 6,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และผู้ป่วยด้านสายตา5e6fdb3279ea790d634ecfce7c1a635e.jpg