สสจ.เชียงใหม่ เผยสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ยังไม่ครบ 6 เดือน พบผู้ป่วยแล้วกว่า 1.2 หมื่นราย ตาย 2 ราย สูงกว่าตลอดทั้งปี 2561 เร่งเดินหน้าฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง หวังลดความรุนแรงและการสูญเสีย50e661645147ab09dc1186c81a5e9316.jpgวันนี้(26 มิ.ย.62) ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์วรัญญู จำนงประสาทพร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ นำเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยของสำนักงานร่วมกันฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลปี 2562 ของจังหวัดเชียงใหม่ 89ee5c347f00e10f1c2b2b75a91e3f60.jpgพร้อมเปิดเผยถึงสถานการณ์การของโรคไข้หวัดใหญ่ของจังหวัดเชียงใหม่ว่า จากข้อมูลของงานระบาดวิทยากลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึงล่าสุด 21 มิ.ย.62พบมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทั้งสิ้น 12,414 ราย โดยในจำนวนนี้เสียชีวิต 2 ราย สูงกว่าตลอดทั้งปี 2561 ที่พบผู้ป่วย 10,863 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่นั้นในบางรายอาจจะพบอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง31b8162e721b17ab876b8a0e7238a6b4.jpgดังนั้นทางสำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่จึงได้จัดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้กับกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป, เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี, ผู้มีโรคเรื้อรั้ง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้เคมีบำบัด, บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป ,ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้, โรคธาลัสซีเมียภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ และผู้มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม9bf0a4cb4487194c07c93055f6b9599d.jpgทั้งนี้ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสามารถขอรับบริการฉีดวัคซีนได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐหรือสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน อย่างไรก็ตามเนื่องจากจำนวนวัคซีนที่จัดไว้ให้มีจำกัด ดังนั้นเบื้องต้นจะพิจารณาให้ฉีดกับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป และเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี เป็นลำดับแรก ขณะที่กลุ่มเสี่ยงอื่นๆ จะประเมินตามความจำเป็นเร่งด่วนโดยอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งประชาชนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์ 053-211048-50 ต่อ 110-11226474afa15042ea39fea1d5ed7530eb8.jpgสำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ ผลิตจากเชื้อตาย รวม 3 สายพันธุ์ คือ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A H1N1) ชนิดเอ เอช 3 เอ็น2 (A H3N2) และชนิดบี (B) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบบ่อยในไทยและทั่วโลก วัคซีนนี้ใช้ได้ผลดีเนื่องจากเชื้อไม่มีปัญหากลายพันธุ์ แต่ไม่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดนกทั้งสายพันธุ์เก่าและใหม่ได้ ดังนั้นประชาชนยังอาจป่วยเป็นไข้หวัดได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง โดยโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว93554f8e70e5fa3e53887ba6ee6dd5e1.jpgส่วนสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอยู่ในน้ำมูก เสมหะของผู้ป่วย ซึ่งแพร่ติดต่อกันได้ง่าย จากการไอ หรือจามรดกัน หรือสัมผัสเชื้อไวรัสในน้ำมูก น้ำลาย ที่อาจติดมากับมือ ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ฯลฯ ของผู้ป่วย หรืออาจติดจากการหายใจเอาเชื้อไวรัสในฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายที่ฟุ้งกระจายในอากาศเข้าสู่ร่างกาย ทางเยื่อบุจมูกและปาก สามารถแพร่สู่คนอื่นได้ในช่วง 3-7 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโรคไข้หวัดใหญ่ไม่ร้ายแรง สามารถหายได้เอง0a223473ed8a2b7fcd783e5e1537b13a.jpgแต่ทั้งนี้หากวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ต้องรีบรักษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายสู่ผู้อื่น โดยเฉพาะคนในครอบครัว รวมทั้งป้องกันความรุนแรงของโรค พร้อมแนะนำให้สังเกตอาการตนเองและคนรอบข้าง หากมีไข้สูงเกิน 24 ชั่วโมง ให้รีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา โรคนี้มักมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดาและมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ ติดเชื้อในกระแสโลหิต จนอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้afdac3f0a1f879976a5c5f821edd184e.jpg