
สำนักงานสิ่งแวดล้อมเเละควบคุมมลพิษที่ 1 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งตรวจสอบน้ำตกทางขึ้นอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย หลัง หมอนักอนุรักษ์ แพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกมาระบุว่าปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย “อีโคไล” แนะนำไม่ให้ดื่มกิน นำเชื้อเข้าร่างกาย
จากกรณีที่นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เฟซ บุ๊ก Rungsrit Kanjanavanit เรื่องพบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย “อีโคไล” ในน้ำตกแห่งหนึ่ง ทางขึ้นอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณโค้งขุนกัณฑ์ก่อนถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ซึ่งมีคนตั้งชื่อว่า “น้ำตกรับเสด็จ” นั้น ในวันนี้สำนักงานสิ่งแวดล้อมเเละควบคุมมลพิษที่ 1 และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เทศบาลตำบลสุเทพ ตลอดจนหน่วยงานด้านกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมด่วนเพื่อหารือเกี่ยวกับต้นตอแหล่งกำเนิดการปนเปื้อนของเชื้ออีโคไล เนื่องจากแบคทีเรียชนิดนี้มีอยู่ในทางเดินอาหารส่วนลำไส้ของคนและสัตว์ ที่จะถ่ายออกจากมาจากอุจจาระ เป็นเชื้อที่ก่อโรคท้องเสีย
พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่เดินทางไปเก็บตัวอย่างน้ำตกและน้ำในลำห้วยห้วยผาลาด 3 จุด ได้แก่ ตั้งแต่ต้นน้ำ คือที่ น้ำตก ปปป.(ปีนปักป้าย) กลางน้ำคือที่น้ำตกรับเสด็จ และปลายน้ำคือที่บริเวณสะพานวัดผาลาด เพื่อนำมาตรวจสอบคุณภาพน้ำอีกครั้ง คาดว่าจะใช้เวลา 1 สัปดาห์ ในเบื้องต้นนายประดิษฐ์ สีใส ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและมลพิษที่ 1 ระบุว่า ข้อมูลที่นำไปกล่าวอ้างเป็นการนำข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษามาใช้ โดยมีความคลาดเคลื่อนตรงที่เชื้ออีโคไล เป็นพารามิเตอร์ที่ถูกกำหนดในมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มเพื่อการบริโภค ไม่ได้ใช้ตรวจสอยคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง รวมทั้งน้ำตก โดยพารามิเตอร์ที่กำหนดมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนั้นๆ ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ ตามมาตรฐานน้ำผิวดินในพารามิเตอร์ต้านแบคที่เรีย ได้แก่ Total Coliform Bacteria (TCB) และFecal Coliform Bacteria (FCB) หากมีการตรวจพบก็บ่งชี้ว่าแหล่งน้ำนั้น มีการปนเปื้อนจากของเสียที่ออกมาจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งสะท้อนว่าอาจมีการระบายน้ำเสียจากชุมชนหรือครัวเรือนลงแหล่งน้ำ การนำค่าผลตรวจ Fecal Coliform Bacteria (FCB) ไปสื่อสารว่าเป็นอีโคไลอาจทำให้เกิดความสับสน
ทางด้านนายประดิษฐ์ สีใส ผู้อำนวยการสำนักงานิ่งแวดล้อม และควบคุมมลพิษที่ 1 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้ทำความเข้าใจกับุณหมอที่เป็นผู้โพสต์แล้วว่า เอกสารและข้อมูลที่ใช้มาอ้างอิงนั้นเป็นงานวิจัยเก่า ซึ่งตอนนั้นห้องปฏิบัติการยังไม่มีเครื่องมือที่ใช้ตรวจอิโคไล ดังนั้นการนำค่าผลตรวจ Fecal Coliform Bacteria (FCB) ของงานวิจัยนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดว่าเป็นอิโคไลได้ อีกทั้งอิโคไลน์จากข้อมูลที่ชี้แจงเป็นมาตรฐานการตรวจคุณภาพน้ำดื่มไม่ใช่น้ำผิวดินอย่างที่บอก ซึ่งตามปกติแล้วก็สามารถพบอิโคไลน์ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงเป็นการไม่ปลอดภัยอยู่แล้วที่จะนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาดื่มกินได้ทันที
อย่างไรก็ตามหลังจากการเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจครั้งนี้ก็จะแบ่งน้ำไปตรวจหาอิโคไล โดยทางฝั่งของ ศูนย์อนามัยที่ 1 ก็จะรับไปตรวจวิเคราะห์พร้อมกันด้วย คาดว้าใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จะรู้ผลต่างๆ แต่เบื้องต้นจากการตรวจคุณภาพน้ำในระดับผิงดินนั้นพบว่ามีค่าออกซิเจนสูง มีความสะอาดอนู่ในระดับดีมาก แต่ก็รอผลการตรวจโดยละเอียดอีกครั้งเพื่อความสบายใจ
ขณะที่ นายวิภู กฤษณุรักษ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 1 กรมอนามัย ซึ่งลงพื้นที่ตรวจด้วยเผยว่า มาตรฐานในการตรวจคุณภาพน้ำนั้นมีการตรวจอยู่ 2 ประเภท ในส่วนของกรมควบคุมมลพิษนั้นตรวจสอบแหล่งน้ำดิบตามมาตรฐานน้ำผิวดิน ในส่วนของกรมอนามัยนั้นเป็นการตรวจมาตรฐานน้ำดื่ม ซึ่งมีเรื่องอิโคไลเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ที่เกิดปัญหาในขณะนี้คือเป็นแหล่น้ำผิวดิน ซึ่งไม่ใช่แหล่งน้ำดื่ม ส่วนเรื่องของการปนเปื้อนของอิโคไลนั้นตามแหล่งน้ำธรรมชาติก็มีโอกาสในการปนเปื้อนอยู่แล้ว ทั้งสาเหตุจากแหล่งชุมชนที่ไม่ถูกสุขอนามัย เรื่องของการขับถ่ายของเสียใกล้แหล่งน้ำ หรือมีการระบายลงสู่แหล่งน้ำก็มีโอกาสปนเปื้อนอยู่แล้วดังนั้นแหล่งน้ำธรรมชาติจึงไม่ใช่แหล่งน้ำที่เหมาะสำหรับกินดื่มได้โดยตรงโดยไม่ผ่านกระบวนการทำให้สะอาดปลอดภัย
โดยหลังจากที่เก็บตัวอย่างน้ำแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณลานจอดรถของดอยสุเทพซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชน ทั้งที่พักลานจอดรถ การบริการห้องน้ำ ร้านอาหารและร้านจำหน่ายของที่ระลึก โดยมีตัวเทนของเทศบาลร่วมด้วย
ล่าสุดทางด้าน นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เฟซ บุ๊ก Rungsrit Kanjanavanit อีกครั้ง โดยโพสต์ว่า “หลังจาก ผมให้ข้อมูลเรื่อง น้ำตก อีโคไล มีคนออกมาแย้งว่า E.coli ไม่ใช่เชื้อก่อโรค ไม่เป็นอันตรายกับคน คือ อันนั้นถูกต้องครับ โดยทั่วไป E coli ไม่ใช่เชื้อก่อโรคโดยตรง จะมีบางสายพันธุ์เท่านั้น (EHEC) ที่เป็นอันตราย เกิดลำไส้อักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ แต่พบไม่บ่อย แต่การมี E.coli ในปริมาณสูง (กรณี น้ำตกรับเสร็จนี้ คือ 92,000 โคโลนี ต่อ น้ำ 100 ml – โดยมาตราฐานน้ำใช้ ต้องไม่เกิน 126 , มาตราฐานน้ำดื่ม = 0) มันเป็นตัวชี้วัดว่า มีการปนเปื้อนจากอุจจาระ มนุษย์หรือสัตว์ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคอื่นๆ ปะปน (ที่เราไม่ได้ตรวจวัด)เช่น แบคทีเรียลำไส้อักเสบ salmonella shigella โปรโตซัว Giardia หรือ ไวรัส ตับอักเสบ A เป็นต้น ได้ครับ แต่ถ้าเป็นแนวสาวกพระบิดา ก็คงรับได้กับ E.coli ครับ ”