สุดเศร้า!นักอนุรักษ์ชื่อดังคนเชียงดาวโดยกำเนิด เปิดใจตั้งแต่เกิดจนอายุเฉียด 60 ปี ไม่เคยเห็นไฟไหม้ป่าดอยหลวงและหมอกควันรุนแรงเท่าปีนี้ ชี้สถานการณ์เพิ่งเริ่มเลวร้ายในช่วง10-12 ปีที่ผ่านมา จากการส่งเสริมปลูกข้าวโพดที่มีการขยานพื้นที่อย่างบ้าคลั่งรุกล้ำไม้เว้นป่าต้นน้ำ10e831bbb6fc6d9bde0e040bfc4e3417.jpgจากสถานการณ์ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่มีความรุนแรงต่อเนื่องมาตลอดเดือน มี.ค.62 จนย่างเข้าสู่เดือน เม.ย.62 รวมทั้งการเกิดไฟไหม้ป่าในพื้นที่ดอยหลวงเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความรุนแรงและเกิดการลุกลามเป็นวงกว้างตั้งแต่ประมาณวันที่ 30 มี.ค.62 ซึ่งทั้งชาวบ้านอาสาสมัคร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องระดมความร่วมมือกันดับไฟจนกระทั่งวันที่ 2 เม.ย.62 สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ส่วนสาเหตุเบื้องต้นคาดว่ามาจากการเผาโดยฝีมือมนุษย์901ff9fa805121ed0ef3496bfea34fa7.jpgนายนิคม พุทธา อายุ 57 ปี ประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำปิง แสดงความเห็นว่า ในฐานะคนที่เกิดและเติบโตที่อำเภอเชียงดาว สถานการณ์ไฟไหม้ป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่เชียงดาว โดยเฉพาะดอยหลวงเชียงดาวปีนี้มีความรุนแรงมากที่สุดที่เคยประสบมาตลอดชีวิต ทั้งนี้พื้นที่ป่าของดอยหลวงเชียงดาวนั้น มีระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์และมีความเฉพาะตัว มีพืชพรรณและสัตว์ป่าหลายชนิดที่พบเพียงแห่งเดียวท่านั้น ซึ่งไฟไหม้ที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างมาก6c0989dbab4f1fc1d31c68b0c2c5e74d.jpgโดยในส่วนของป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ยังสามารถปรับสภาพกลับคืนมาได้ อย่างไรก็ตามในส่วนของป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา ที่มีความสูง 700-800 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบนิเวศเทือกเขาหินปูนที่มีความสูงเกิน 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ที่ถูกไฟไหม้นอกจากสูญเสียพรรณพืชและสัตว์ป่าแล้ว ยังยากที่จะกลับคืนสภาพ ขณะเดียวกันที่สำคัญอย่างยิ่งยังเป็นการทำให้สูญเสียความสามารถในการกักเก็บน้ำโดยธรรมชาติของป่าที่เป็นป่าต้นน้ำแม่ปิงด้วย ซึ่งหมายความว่าในปีต่อไปมีความเสี่ยงที่จะเกิดดินถล่มหรือน้ำป่าไหลหลากหากฝนตกหนัก และเกิดความแห้งแล้งหากฝนตกน้อย968f65acbb97db40b7c3fee4c35e9be4.jpgประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำปิง ระบุว่า การเกิดไฟไหม้ป่าและหมอกควันเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นมาตั้งแต่เป็นเด็ก อย่างไรก็ตามในอดีตไม่มีความรุนแรงเช่นนี้ โดยสถานการณ์เพิ่งจะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องในช่วงประมาณ 10-12 ปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากการส่งเสริมการปลูกเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพด ที่มีการขยายพื้นที่ปลูกจากพื้นที่ราบรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่า ไม่เว้นแม้พื้นที่ป่าต้นน้ำที่มีความลาดชันสูง รวมทั้งป่าอุทยาน ป่าสงวน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  ซึ่งเห็นว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการทบทวนเรื่องนี้และแก้ไขปัญหาโดยเร็ว4f593147a1eba61c548d197be4c509ae.jpgทั้งนี้อยากเรียกร้องไปนายกรัฐมนตรีและผู้บริหารประเทศให้พิจารณาเรื่องนี้ ด้วยการควบคุมพื้นที่และการปลูกข้าวโพด ไม่ปล่อยปละละเลยให้มีการปลูกในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ที่นำมาซึ่งความเสียหายที่เกิดกับระบบนิเวศที่ประเมินค่าไม่ได้ อีกทั้งนำไปสู่การก่อปัญหากระทบต่อสุขภาพผู้คนและด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นการก่อขัดแย้งระหว่างกันในเรื่องไฟไหม้ป่าด้วย โดยอยากให้มีการสร้างความมือกันจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน.