afc2ce7071144fb11f7ed10684892dc8.jpg
“บุญเลิศ”เผย อบจ.เชียงใหม่ พร้อมทุ่มงบสนับสนุนสร้างหอคอยกรองอากาศแก้ปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีจากสถาบันวิจัยจีน พบหนึ่งหลังครอบคลุมพื้นที่1 ตร.กม.กรองฝุ่นPM2.5ได้กว่า90% เตรียมเชิญนักวิจัยจีนลงพื้นที่จริงจับมือ มช.พัฒนาออกแบบ นำร่องใช้พื้นที่คูเมือง
นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 28 ส.ค.62-1 ก.ย.62 ที่ผ่านมา ได้ร่วมคณะกับนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเยี่ยมชม ศึกษาดูงานและหารือเกี่ยวกับองค์ความรู้ และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ที่ Shanghai Institute of Ceramics Chinise Academy of Sciences นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ตามคำเชิญของสถานกงสุลใหญ่สาธารณะประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ซึ่งพบว่าที่สถาบันดังกล่าวได้วิจัยพัฒนาวัสดุใหม่เป็นผลสำเร็จสำหรับการนำไปใช้ในการบำบัดคุณภาพอากาศได้658d229bbfa742a853994fd06300ff9d.jpg
7f4a70b9e5e68be410eda377d2d2498b.jpg
โดยสารดังกล่าวนี้มีคุณสมบัติในการที่จะแยกสิ่งเจือปนทั้งฝุ่นละออง,สารระเหยและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเมื่อนำไปใช้เคลือบกระจก และอาศัยแสงอาทิตย์ในการแยกสลายสารปนเปื้อนหรือสิ่งสกปรกด้วยตัวเอง ด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าPhotocatalysis โดยทำปฏิกิริยากับฝุ่นที่เกาะอยู่บนกระจกทำให้เกิดน้ำแล้วหลุดหล่นลงสู่ด้านล่าง จึงสามารถนำไปเป็นวัสดุส่วนหนึ่งของระบบกรองอากาศและพัฒนาขึ้นเป็นหอคอยกรองอากาศที่ปัจจุบันทางสถาบันสามารถพัฒนาต้นแบบหอคอยกรองอากาศ รุ่นที่ 2 ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า จากการเยี่ยมชมและดูงานดังกล่าว เห็นว่าเทคโนโลยีและองค์ความรู้ดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควันและค่าฝุ่นละออง PM2.5ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งจากการหาปรึกษาหารือเบื้องต้นกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และคณบดีวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่ามีความเป็นไปได้และเตรียมที่จะเชิญทีมนักวิจัยจากสถาบันดังกล่าวจากประเทศจีนเยือนเชียงใหม่ เพื่อลงพื้นที่จริงเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ออกแบบหอคอยกรองอากาศที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของจังหวัดเชียงใหม่ โดยร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่fadc8239f24e088c7d6931b1b1aa5566.jpg
ba9294f54fd2f473fc857ce7290f25cb.jpg
ทั้งนี้ต้นแบบหอคอยกรองอากาศรุ่นที่ 2 ที่ทางสถาบันวิจัยของจีนออกแบบนั้น มีขนาดฐานกว้างยาว 20 เมตร และสูง16 เมตร สามารถกรองอากาศได้ครอบคลุมรัศมีพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร โดยการทดสอบในห้องปฏิบัติการสามารถกรองฝุ่น PM2.5ได้กว่าร้อยละ 90 ในเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งทางจีนยังไม่เคยก่อสร้างใช้งานจริงเช่นกัน แต่มีการคำนวณต้นทุนก่อสร้างหอคอย 1 หลัง พร้อมอุปกรณ์อยู่ที่ประมาณหลังละ 25 ล้านบาท ขณะที่การออกแบบใช้งานที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น อาจจะมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และลดต้นทุนลงได้ โดยเบื้องต้นอาจจะมีการพัฒนาออกแบบและก่อสร้างเครื่องต้นแบบทดลองติดตั้งในพื้นที่รอบคูเมืองเชียงใหม่ และวัดผลการใช้งาน ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการเรื่องนี้
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการสร้างหอกรองอากาศดังกล่าวนั้น เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นหรือเฉพาะหน้าเท่านั้น โดยที่ยังมีความจำเป็นต้องมีแผนการแก้ไขปัญหาทั้งระยะกลางและระยะยาวด้วย ซึ่ง อบจ.มีการกำหนดแผนไว้อยู่แล้วเช่นกันและได้เริ่มดำเนินงานไปแล้ว ซึ่งระยะกลาง ได้แก่ การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นให้ได้ปีละ 10,000 ฝาย ในพื้นที่เสี่ยงที่เป็นต้นเหตุของปัญหา ขณะที่ระยะยาวเป็นการรณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกและการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชที่ไม่การเผาในกระบวนการผลิต รวมทั้งการปลูกป่าทดแทน ซึ่งยอมรับว่ากว่าจะเห็นผลชัดเจนอาจจะต้องใช้เวลานานนับสิบปี แต่จำเป็นต้องทำโดยเร็วและได้เริ่มดำเนินการแล้ว7f552be07c057be452e86fd070e8ec76.jpg
61a4b3bfc5a94092062c6d142d1c694c.jpg
รายงานข่าวระบุว่า หลักการทำงานของหอคอยกรองอากาศ รุ่นที่ 2 ที่นักวิจัย Shanghai Institute of Ceramics Chinise Academy of Sciences ได้พัฒนาขึ้นนั้น ภายในหอคอยที่มีรูปร่างเหมือนปล่องจะทำการติดตั้งกระจกที่เคลือบด้วยวัสดุพิเศษที่คิดค้นขึ้นมาได้ บริเวณฐานจะเป็นน้ำและมีช่องระบายให้อากาศสามารถลอดเข้าไปในตัวปล่องได้ วิธีการทำงาน อาศัยหลักการที่ว่าอากาศร้อนจะลอยขึ้นสู่ด้านบน ด้วยการอาศัย แสงอาทิตย์ทำให้กระจกมีความร้อน และดูดอากาศจากด้านล่างผ่านปล่องขึ้นมา แล้วดักจับฝุ่นละออง ที่สุดท้ายจะหลุดและสลายตัวลงไปในน้ำที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งเบื้องต้นประมาณต้นทุนเฉพาะการก่อสร้างหอคอยกรองอากาศ รุ่นที่ 2 พร้อมติดตั้งอุปกรณ์พร้อมใช้งาน อยู่ที่ราว 5 ล้านหยวน(ประมาณ25ล้านบาท)ต่อ1ตัว ซึ่งข้อดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของหอคอยนี้คือไม่ต้องสิ้นเปลืองต้นทุนหรือจัดงบประมาณในการบำรุงรักษา