เชียงใหม่-เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ออกแถลงการณ์ยื่นข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี ก่อน ครม.สัญจรเชียงใหม่-ลำปาง 14-15 ม.ค.62 เรียกร้องแถลงแผนและมาตรการแก้ปัญหา “ป่าแหว่ง” ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมีผลทางกฎหมายa6146253c99fa7eaab57b3c3aa168993.jpgวันนี้(9ม.ค.62) ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ นำโดยนายบัณรส บัวคลี่ โฆษกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ พร้อมด้วยตัวแทนเครือข่าย ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ของเครือข่ายฯ กรณีปัญหาโครงการบ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรีในโอกาสเดินทางมาประชุมครม.สัญจร เชียงใหม่-ลำปาง และข้อเสนอถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กรณีจะตั้งคณะทำงานฟื้นฟูพื้นที่บ้านพักข้าราชการตุลาการ 45 หลังae7e254522c97afa4b0e0e7050394f98.jpgโดยในส่วนของแถลงการณ์ข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรีนั้น ระบุว่าเนื่องจากนายกรัฐมนตรีพร้อมคณะจะเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่เพื่อไปประชุมครม.สัญจรภาคเหนือ ในระหว่างวันที่ 14-15 ม.ค.62 และวันนี้(9ม.ค.62) จังหวัดเชียงใหม่ได้เชิญให้ตัวแทนเครือข่ายฯ เข้าร่วมประชุมหารือทำแผนและงบประมาณโครงการฟื้นฟูพื้นที่บ้านพักข้าราชการตุลาการ 45 หลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่ประชุมเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพมีมติยังไม่เข้าร่วมประชุมหารือแผนการฟื้นฟูฯ เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนจากรัฐบาล56fc753c2c121d99cfdbad190077ea8b.jpgทั้งนี้ขอเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีได้โปรดดำเนินการต่อไปนี้ให้เป็นที่ชัดเจน แล้วเสร็จก่อนจะเดินทางมาประชุมครม.สัญจร ได้แก่ 1.นายกรัฐมนตรีมีความเห็นเช่นไรกับมติที่ประชุมของคณะกรรมการแก้ปัญหาฯ ที่มีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นประธาน และมีข้อสั่งการบ้าง เครือข่ายขอเรียกร้องให้รัฐบาลได้แถลงแนวทาง แผนงานและมาตรการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โครงการบ้านพักข้าราชการตุลาการอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะ เพราะท้ายสุดมติที่ประชุมของคณะกรรมการแก้ปัญหาฯ ยังไม่มีผลผูกพันในทางกฎหมายและต่อหน่วยงานใดๆ2b011a2201279e41120c272712fcb966.jpg2.เครือข่ายภาคประชาชน พอใจในระดับหนึ่งที่ห้ามผู้ใดเข้าใช้ประโยชน์ในบ้านพัก 45 หลัง แต่อย่างไรก็ตามยังมองไม่เห็นว่ามาตรการฟื้นฟูพื้นที่ส่วนดังกล่าวจะสามารถปฏิบัติจริงได้เช่นไรหากยังไม่มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป มาตรการฟื้นฟูที่กำลังจะมีขึ้นจึงเป็นเพียงการฟื้นฟูขั้นต้นเท่านั้น
3.ขอให้นายกรัฐมนตรีได้ประสานแจ้งแนวทางแก้ปัญหาของรัฐบาลไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อได้ดำเนินการรังวัดและคืนพื้นที่ในส่วนบ้านพัก 45 หลังให้กับกรมธนารักษ์ เพื่อให้การฟื้นฟูดำเนินไปได้อย่าราบรื่น ทั้งนี้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนอย่างชัดเจนว่า พร้อมจะโอนมอบพื้นที่หลังก่อสร้างแล้วเสร็จ ขึ้นกับรัฐบาลจะแจ้งให้ดำเนินการเช่นไร
4.ขอให้มีความชัดเจนเพื่อให้สังคมมองเห็นภาพในระยะยาวว่า เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 แห่งใหม่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและย้ายทั้งบุคลากรผู้พักอาศัยไปจังหวัดเชียงรายแล้ว รัฐบาลจะดำเนินการกับพื้นที่อาคารชุดส่วนที่เหลืออย่างไร และจะให้มีการฟื้นฟูแบบไหน2792276d07cbef22cff7b9a4d74da769.jpgขณะที่ข้อเสนอถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่นั้น ระบุว่าตามที่ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้เชิญตัวแทนเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพเข้าร่วมประชุมเพื่อจะทำแผนงานของบประมาณและเริ่มโครงการฟื้นฟูพื้นที่บ้านพักข้าราชการตุลาการ 45 หลังในวันนี้ (9ม.ค.) และที่ประชุมเครือข่ายฯ มีมติจะยังไม่เข้าร่วมก่อนจนกว่าจะมีความชัดเจนในระดับนโยบาย จึงได้ออกแถลงการณ์ไปถึงนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อความชัดเจนนั้น64264de8830da6c95459629ac6b2d1b6.jpgโดยทางเครือข่ายขอแถลงให้พี่น้องประชาชนได้โปรดทราบว่า จุดยืนของเครือข่ายฯ ยังมุ่งมั่นในเป้าหมายสุดท้ายคือขอให้รื้อถอนหรือย้ายสิ่งปลูกสร้างซึ่งล้ำขึ้นไปในแนวป่าลงมา พร้อมกับฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าสมบูรณ์ดังเดิม การเรียกร้องของประชาชนตลอดปีที่ผ่านมา ได้ผลในระดับต้นเท่านั้นคือ ไม่มีผู้อาศัยในเขตบ้านพัก 45 หลังพร้อมกับจะมีมาตรการฟื้นฟู แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการในภาคปฏิบัติยังไม่ชัดเจนทั้งในระดับนโยบายและระดับจังหวัด
เบื้องต้นทางเครือข่ายได้ประสานงานแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดไปเบื้องต้นแล้วถึงจุดยืนและความเห็นของภาคประชาชนดังนี้ 1.การจะฟื้นฟูให้เต็มรูปแบบต้องรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง แต่ในชั้นนี้รัฐบาลยืนกรานไม่รื้อย้ายอ้างว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ดังนั้นการฟื้นฟูที่จะมีขึ้นควรเรียกว่า โครงการฟื้นฟูพื้นที่ระยะต้น ,2.จะต้องมีความชัดเจนว่าจากสำนักงานศาลยุติธรรมว่า จะมอบพื้นที่ส่วนดังกล่าวกลับคืนกรมธนารักษ์ (แม้จะยังไม่ดำเนินในการเดือนหรือสองเดือนก็ขอให้มีคำประกาศแสดงเจตนาให้สาธารณะรับทราบไว้ก่อน) ,3.ควรจะถอดย้ายชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์สำคัญออกจากตัวบ้าน ป้องกันการกล่าวหา กล่าวโทษ หรือ ทรัพย์สินราชการเสียหาย69251b3463e1bc2e6ef8ace6a0530e26.jpg4.ให้มีความชัดเจนว่า คณะกรรมการที่จะดำเนินงานฟื้นฟูทั้งปวง มีขอบเขตอำนาจหน้าที่แค่ไหน,5.หากจะมีการฟื้นฟูพื้นที่บ้านพัก 45 หลังไปพลางๆ โดยยังไม่รื้อสิ่งปลูกสร้างนั้นอาจจะเป็นผลดีกว่าปล่อยทิ้งร้างไว้โดยไม่ดำเนินการใดๆ โดยต้องเป็นการดำเนินการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของประชาชนในจังหวัดทุกหมู่เหล่า ปลูกสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมดอยสุเทพพร้อมกันไป
6.การจะให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและสะดวกต่อทุกฝ่าย ควรจะมีการทำถนนทางเข้าใหม่ ที่ไม่ต้องผ่านประตูหน้าของสำนักงานศาลอุทธรณ์ภาค 5 เครือข่ายได้เสนอแนวถนนทางเข้า 2 แนว คือเลาะแนวรั้วด้านทิศใต้ ไปยังสะพานข้ามบ้านพัก 45 หลัง หรือ ใช้เส้นทางลำลองจากอ่างเก็บน้ำชลประทาน 7.จังหวัดต้องให้เกียรติและจริงใจกับการเปิดให้ประชาชนเข้าไปร่วมทำงาน ต้องไม่มีกรณีการขอเอกสารการประชุมแล้วยังไม่ได้เช่นที่เครือข่ายฯ ประสบมาตลอดปี 2561 และ 8.เครือข่ายฯ พร้อมจะให้ความร่วมมือกับภาคราชการในการแก้ปัญหาเช่นที่เคยปฏิบัติมาตลอดปี 2561 หากแต่ครั้งนี้ ขอยังไม่เข้าร่วมประชุมเพื่อรอให้มีความชัดเจนในระดับนโยบายเสียก่อน