ชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ ระบุรู้สึกขอบคุณที่รับฟัง หลังหน่วยงานทหารยอมถอยสั่งยกเลิกงานลอยกระทงปล่อยโคมลอยทำสถิติโลกที่ห้วยตึงเฒ่า แต่ยังห่วงมีอีกหลายจุดวางแผนปล่อยอีก เตรียมยื่นหนังสือถึงจังหวัดจี้ถามมาตรการควบคุมดูแลe76bb494a2559551e91053df887a56f4.jpgความคืบหน้ากรณีที่เครือข่ายชุมชนและภาคประชาชนที่ทำงานด้านการอนุรักษ์เมืองเชียงใหม่ท้วงติงความเหมาะสมการจัดงานเทศกาลลอยกระทงนานาชาติแห่งประเทศไทย ปี 2562 ระหว่างวันที่ 11-12 พ.ย.62 ที่ห้วยตึงเฒ่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับสำนักงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และบริษัทเที่ยวเที่ยว มีเดียกรุ๊ป จำกัด จัด ที่ระบุว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนประมาณ20,000 คนเข้าร่วมและทำการปล่อยโคมลอยพร้อมกันเพื่อทำสถิติการปล่อยโคมลอยมากที่สุดในโลกบันทึกในกินเนสส์บุ๊ค7356bb921d829b09c07eda8bed909788.jpgวันนี้(14 ส.ค.62) นางเสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ล่าสุดวานนี้(13 ส.ค.62) ได้รับแจ้งจากผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 33 ซึ่งดูแลรับผิดชอบพื้นที่ห้วยตึงเฒ่า ว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้ยกเลิกการจัดงานดังกล่าวแล้ว 25a668da84bd1fea7aae8b428e4d3e7e.jpgเนื่องจากผู้บัญชากรมณฑลทหารบก รับทราบเกี่ยวกับความกังวลใจที่เกิดขึ้นของประชาชน ทั้งนี้เบื้องต้นรู้สึกขอบคุณอย่างมากที่รับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงใยของประชาชน อย่างไรก็ตามในวันที่ 16 ส.ค.62 ทางเครือข่ายฯ เตรียมยื่นหนังสือถึงทางจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงความห่วงใยเรื่องการปล่อยโคมลอย พร้อมสอบถามเกี่ยวกับมาตรการควบคุมการปล่อยโคมลอย เนื่องจากใกล้จะถึงช่วงงานลอยกระทงหรือยี่เป็งแล้ว2fd9b7e99c9f6b544ac8a181c605c57a.jpgทั้งนี้ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ ยอมรับว่า แม้ว่าการจัดงานปล่อยโคมลอยทำสถิติโลกที่ห้วยตึงเฒ่าจะยกเลิกไปแล้ว แต่ยังคงมีความห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องการปล่อยโคมลอยอยู่ดี เนื่องจากคาดว่าน่าจะมีการจัดกิจกรรมปล่อยโคมลอยในจุดอื่นๆ อีกหลายจุด และจุดละเป็นจำนวนมาก จึงอยากรับทราบจากทางจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีมาตรการควบคุมดูแลและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา ทั้งในเรื่องไฟไหม้และการจัดการซากโคมอย่างไร6b40f588dc7b57a7beea01469adb9fcb.jpgพร้อมกันนี้เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่จะต้องพูดคุยหารือกันให้เกิดความชัดเจนเสียทีว่าแท้ที่จริงแล้วการปล่อยโคมลอยนั้น ไม่ใช้จารีตประเพณีล้านนาดั้งเดิม ซึ่งมีข้อมูลหลักฐานที่นักประวัติศาสตร์ล้านนาผู้เชี่ยวชาญได้เคยทำการค้นคว้าศึกษาไว้แล้ว จึงไม่อยากให้มีการนำไปบิดเบือนเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยว โดยที่ผลประโยชน์เม็ดเงินตกอยู่กับคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ประชาชนและเมืองได้รับผลกระทบ โดยหากเป็นไปได้อยากให้ยกเลิกไปเลย แล้วหาจุดขายอื่นที่เหมาะสมและสอดคล้องตามจารีตประเพณีจริงๆ เช่น การแขวนโคม เป็นต้น ซึ่งจะจัดทำสถิติโลกย่อมได้เช่นกัน.