
เครือข่ายแก้ไขปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ ยื่นหนังสือผู้ว่าฯ เสนอแผนแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน,กลางและยาว จากการระดมความคิดทุกภาคส่วน จี้นำไปสู่การปฏิบัติโดยเร็วสุด เผยผลวิจัยการแพทย์ชี้มลพิษอากาศทำคนเชียงใหม่อายุสั้นลง4ปี
วันนี้(19 มี.ค.62) ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ตัวแทนเครือข่ายแก้ไขปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ นำโดย ดร.ณัฐสิทธิ์ ศรีนุรักษ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกันยื่นหนังสือให้กับนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยหนังสือดังกล่าวเป็นคำแถลงการณ์ “แนวทางแก้ไขปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง ระยะยาว” ที่เป็นข้อสรุปจากการจัดประชุมระดมความเห็นในหัวข้อ “หมอกควันเชียงใหม่ แก้ไขอย่างไร” วานนี้(18 มี.ค.62) ซึ่งมีตัวแทนทุกภาคส่วนร่วมทั้งภาคราชการ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,ภาคเอกชนและภาคประชาชน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนมากที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.ณัฐสิทธิ์ ระบุว่า ในช่วงหลายวันที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่ประสบปัญหาวิกฤติหมอกควันจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งพบว่ามีค่าดัชนีคุณภาพอากาศสูงกว่าระดับมาตรฐานเกือบ 20 เท่า โดยมลพิษทางอากาศที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้ง PM 10 และ PM2.5 นั้น ได้รับการตรวจสอบจากองค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติแล้วว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ รวมทั้งมีงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันด้วยว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาโรคร้ายที่ลดอายุของคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่ลงถึง 4 ปี ซึ่งปัญหานี้ใหญ่เกินกว่าจะมองข้าม และต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังโดยด่วน
ทั้งนี้เครือข่ายแก้ไขปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ได้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนดังกล่าว และเป็นแกนกลางในการระดมความเห็นในการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนรวมถึงเพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละอองให้มีการรับมือแก้ไขปัญหาและร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมอย่างจริงจัง โดยมีการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน รวบรวมจัดทำเป็นข้อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งระยะเร่งด่วน,ระยะกลาง 1-3 ปี และระยะยาว 3 ปีขึ้นไป เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพิจารณานำไปปฏิบัติต่อไป
ขณะที่นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งรับหนังสือด้วยตัวเอง กล่าวว่า ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นที่เรื่องดีและเป็นการแสดงออกของประชาชนที่มีส่วนร่วม และตระหนักในการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ ทั้งนี้ยืนยันว่าทางจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหา โดยมีการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนและหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาวด้วย ซึ่งเร็วๆ นี้จะมีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะนำไปสู่ทางออกของปัญหาร่วมกันในระยะยาว
สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ ในหนังสือดังกล่าวนั้น ประกอบด้วย ระยะเร่งด่วน ได้แก่ ประกาศเป็นวาระเร่งด่วน ยกให้เป็นปัญหาขั้นวิกฤตของจังหวัดเชียงใหม่,ประกาศงดการเรียนการสอนในช่วงวิกฤตหมอกควัน,ส่งเสริมให้มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการแจ้ง และเข้าช่วยระงับ, เหตุการเผาในพื้นที่,ติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่นละอองในระดับ PM2.5 ในทุกพื้นที่, ศูนย์รับแจ้งการเผา ต้องดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง และตลอดปี และเมื่อมีการแจ้ง หน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ต้องสามารถหาจุดที่ก่อเหตุได้ นำเครื่องมือที่มีอยู่ เช่น เครื่องวัด จุด Hotspot ตรวจดู เพื่อเข้าระงับ, มีมาตรการในการควบคุม และใช้กฎหมายที่จริงจัง เช่น ปรับเงิน หรือลดงบประมาณในพื้นที่ที่เกิดการเผาซ้ำซ้อน และให้เงินรางวัลน้าจับแก่ผู้ที่แจ้งการเผา
สนับสนุนส่งเสริม ด้านวัสดุอุปกรณ์ เสบียงและสิ่งจำเป็น แก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครหน่วยดับไฟป่า, สร้างเครือข่ายออนไลน์ ที่สามารถแจ้งเหตุการเผา แจ้งระดมคนในพื้นที่ หรือใกล้เคียงไปช่วยดับไฟ,ขอความร่วมมือกับกองทัพอากาศ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการท้าฝนเทียมในสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย, ภาครัฐต้องแจ้งเตือนระดับความอันตรายของฝุ่นควันโดยแจ้งให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลอย่างรวดเร็ว และแจกหน้ากากที่ป้องกันฝุ่นขนาด PM2.5 ได้ พร้อมทั้งชี้ให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการใส่หน้ากาก, น้ำเสนอข้อมูลอันตรายของหมอกควันที่กระทบต่อสุขภาพ ให้ความรู้และติดตามดัชนีค่าฝุ่นโดยใช้มาตรฐานโลกโดยผ่านช่องทางสื่อสาธารณะและสื่อชุมชน เช่น เสียงตามสาย และขอความร่วมมือภาคเอกชนที่มีจอป้ายขนาดใหญ่ขึ้นข้อความที่แจ้งค่าฝุ่นละอองให้ประชาชนทราบ เพื่อให้คนตระหนักไม่เฉพาะช่วงที่เกิดปัญหาหมอกควัน หรือทำเป็น infographic หรือภาษาที่เข้าใจง่าย ขอความร่วมมืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในแต่ละพื้นที่ลงชุมชนให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง (คนชรา เด็ก คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง) อย่างใกล้ชิด โดยใช้รูปแบบเดียวกับการรณรงค์ลูกน้ำยุงลาย, ควรลดค่าโดยสารของระบบขนส่งสาธารณะเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนในช่วงวิกฤตหมอกควัน, จัดการระบบจราจรในพื้นที่เมืองบางส่วนโดยให้รถยนต์สลับวิ่งวันคู่ วันคี่ ตามเลขป้ายทะเบียนเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ, ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตรวจจับควันดำอย่างจริงจังและออกค้าสั่งให้งดการใช้รถที่มีควันดำเกิน ค่ามาตรฐานในช่วงวิกฤตหมอกควัน, ดูแล และควบคุมการก่อสร้างไม่ให้ก่อให้เกิดฝุ่นละออง ทั้งจากบริเวณพื้นก่อสร้างและการขนส่งวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ส่วนระยะกลาง ที่เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาระยะ1-3 ปี ได้แก่ บูรณาการหน่วยงานจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ และองค์กรเอกชน เพื่อรวบรวมรายชื่อหน่วยงานและองค์ความรู้ เทคโนโลยี การสื่อสาร เพื่อน้าไปใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการวางแผนในระยะยาว, ศึกษาค้นคว้าเพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดควัน สามารถระบุข้อมูลสถานที่กำเนิดควัน ประเภทของการเผา และสัดส่วนของการหมอกควันแต่ละประเภทเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด, จัดการการเผาอย่างเป็นระบบโดยวางแผนจัดการในช่วง 8 เดือน (พ.ค.-ธ.ค.) เพื่อให้ไม่เกิดวิกฤติ 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย.) ทำข้อตกลงโดยใช้มาตรการสังคมที่จะร่วมมือกันไม่เผาในช่วงวิกฤตหมอกควัน มีอาสาสมัครท้องถิ่นช่วยสอดส่องแต่ละหมู่บ้าน ติดตามการเผาในท้องถิ่น ส่งเสริมกลุ่มป่าชุมชนและสอดส่องมีการจัดการเผาในพื้นที่บุกรุก ส่วนการเผาในภาคอุตสาหกรรมขอให้หน่วยงานที่ดูแลออกมาตรการควบคุมการเผา และบรรจุประเด็นสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมของคนเชียงใหม่ 3 ปี ในแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยออกมาตรการที่เกี่ยวกับอากาศสะอาด การดูแลสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียว แผนการจัดการขยะ ติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นในระดับชุมชน ตั้งเป้าให้คนเชียงใหม่มีสุขภาพที่ดีขึ้น ค่าฝุ่นลดลง และมีดัชนีชี้วัดที่ชัดเจน
ขณะที่ระยะยาว ที่เป็นแนวทางระยะ 3 ปีขึ้นไป ได้แก่ ผลักดันให้เรื่องหมอกควันเป็นวาระจังหวัด และวาระแห่งชาติ มีการวางแผนระยะยาว 10 ปี โดยบูรณาการหน่วยงานจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ และองค์กรเอกชนรวมถึงใช้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าแหล่งกำเนิดควันในการวางแผนปฏิบัติงานโดยตั้งเป้าลดมลพิษในแต่ละปีลงเป็นล้าดับ และมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานโดยตำแหน่ง,กระจายการใช้งบประมาณของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปสู่กลุ่มคนพิการ คนชายขอบ ต้องได้รับความรู้ และสิทธิในการได้รับหน้ากากป้องกันฝุ่น รวมถึงการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับคนทั่วไป ดูแลให้ได้รับสิทธิ รวมถึงส่งเสริมให้เข้าถึงเรื่องเครื่องป้องกัน และความปลอดภัยในชีวิต ในภัยพิบัติทุกเรื่อง ในพื้นที่เสี่ยง
พิจารณาย้ายสนามบินที่มีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นทุกปี จนเกินศักยภาพที่จะรองรับได้ในปัจจุบัน ให้ออกไปตั้งอยู่นอกตัวเมืองเชียงใหม่ จัดให้มีระบบคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างสนามบินกับเมือง,ส่งเสริมให้เกิดระบบขนส่งมวลชนที่ใช้พลังงานสะอาด และผลักดันให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน รวมถึงสร้างจุดจอดรถส่วนตัวตามสถานีให้บริการระบบขนส่งมวลชนต่างๆ,ออกแบบปรับปรุงเส้นทางจักรยานและทางเดินให้มีคุณภาพ ปลูกต้นไม้ริมทางเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์,ส่งเสริมและกำหนดมาตรการช่วยเหลือภาคเกษตรกรในการท้าเกษตรทางเลือก เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ การฟื้นฟูดิน
กำหนดมาตรการแนวทางการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เป็นต้นเหตุของการเผา โดยบริษัทเอกชนผู้รับซื้อผลผลิตจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการตอซัง ซากพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นการแสดงความรับผิดขอบต่อสังคมโดยรวมด้วย, กระจายอำนาจการบริหารจัดการจากรัฐส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้ในภาวะเร่งด่วน ครอบคลุมภาคการเกษตร อุตสาหกรรม ผลักดันภาษีสิ่งแวดล้อม องค์กร/หน่วยงาน/โรงงาน ที่สร้างมลภาวะที่เป็นพิษจะต้องเสียภาษีในอัตราที่มากขึ้น ควบคุมมาตรฐานของการก่อมลพิษ, ทบทวนการใช้ประโยชน์ที่ดินและการกำหนดเพิ่มพื้นที่โล่งว่าง (Open Space) ในผังเมือง พิจารณายกเลิกกฎหมายที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเป็นพื้นที่เกษตร เช่น การท้าสวนผลไม้
ลดบทบาทความเจริญของเชียงใหม่ลงจากที่เป็นเมืองโตเดี่ยว กระจายความเจริญไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง, ประสานความร่วมมือของประเทศเพื่อนบ้าน ให้เล็งเห็นความสำคัญของการร่วมกันแก้ไขปัญหา รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับนานาชาติ ศึกษาโมเดลของต่างประเทศ เช่น เมือง Stuttgart ประเทศ Germany ด้านการศึกษา airflow และวางแผนการใช้ที่ดิน, ยุทธศาสตร์การท้าให้ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าทุกวัน ที่เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในป่าให้เป็นไม้เศรษฐกิจแทนพืชเชิงเดี่ยว เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง สร้างพื้นที่ป่าในเมือง รณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ในพื้นที่บ้าน ตามพื้นที่สาธารณะ นำนโยบาย Green city ของสิงคโปร์ มาปรับใช้ ส่งเสริม GREEN BUILDING ให้มีการปลูกต้นไม้คลุมอาคารมากที่สุด เพื่อช่วยดูดซับมลพิษ มีแรงจูงใจด้านภาษีโรงเรือน.