
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์สยบข่าวลือเรื่องดาวเคราะก์ชนโลกหรือเฉี่ยวโลกวันที่ 10 สิงหาคมนี้ ที่เผยแพร่บนโลกออนไลน์ ความจริงใช้คำว่าเฉียดโลกแต่ระยะห่างกว่า 19 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ จึงไม่ส่งผลกระทบกับโลกแม้แต่น้อย แต่ปรากฏการณ์นี้นักดาราศาสตร์ทั่วโลกเฝ้าจับตาเพื่อศึกษาและถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อยที่เข้ามาในระยะใกล้ที่สุดครั้งหนึ่ง
จากกระแสข่าวเรื่องของดาวเคราะห์น้อย ที่จะเข้าใกล้วงโคจรของโลกเราในวันที่ 10 สิงหาคม 2562 นี้ ซึ่งส่งผลให้มีข่าวลือในโลกออนไลน์และมีการแชร์เรื่องราวว่าดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งชนโลก บ้างก็ว่าเฉี่ยวโลก และจะมีผลกระทบไปต่างๆ นานา และมีการเผยแพร่เรื่องราวที่เข้าใจไม่ถูกต้องออกไป
ล่าสุดทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ แห่งชาติ องค์การมหาชน โดยนายสิทธิพร เดือนตะคุ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)เปิดเผยข้อมูลว่า ดาวเคราะห์น้อยชื่อว่า 2006 QQ23 ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 570 เมตร หรือเทียบความยาวกว่าความสูงของตึกใบหยกเกือบสองเท่า จะโคจรมาใกล้กับวงโคจรของโลกเรา ซึ่งตามข้อมูลของดาราศาสตร์ซึ่งจะเปรียบเทียบระห่างจากตัวโลกกับระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 3 แสนกิโลเมตร แต่การเฉียดเข้ามาใหล้โลกของดาวเคราะห์น้อย 2006 QQ23 นี้ในวันที่ 10 สิงหาคม 2562 นี้ ในระห่างจากโลกประมาณ 19 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ( 19 AU)หรือประมาณ 7.3 ล้านกิโลเมตร (1 AUเท่ากับ ระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงจันทร์ ประมาณ 0.38 ล้านกิโลเมตร) มีความเร็วประมาณ 16,740 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นวัตถุใกล้โลก (Near-Earth Objects) เนื่องจากอยู่ในระยะห่างที่นักดาราศาสตร์นิยามไว้ คือใกล้โลกน้อยกว่า 195 ล้านกิโลเมตร (1.3 AU)
แม้ว่าจะมีขนาดใหญ่และอยู่ในระยะห่างที่ต้องเฝ้าระวังภัย แต่เราก็ไม่ควรกังวลว่าดาวดวงนี้จะพุ่งเข้าชนโลก เนื่องจากอยู่ในระยะที่ห่างมาก นาซาและนักดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างเฝ้าติดตามวัตถุเหล่านี้มาตลอด ไม่ใช่เพราะมันเป็นภัยต่อโลกของเรา แต่เพื่อทำให้มั่นใจว่ามันจะไม่เป็นภัยต่อโลกของเราจริงๆ และการเข้าใกล้เช่นนี้ยังถือเป็นโอกาสอันดีในการศึกษาดาวเคราะห์น้อย นอกจากนี้ จากการเฝ้าระวังมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบวัตถุขนาดใหญ่เช่นนี้โดยเฉลี่ยประมาณ 6 วัตถุต่อปี โคจรเข้าใกล้โลกของเรา จนถือเป็นเหตุการณ์ปกติไปแล้ว
ณ วันนี้(7 สิงหาคม 2562) ดาวเคราะห์น้อย 2006 QQ23 ตอนนี้อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20 เท่าของดวงจันทร์กับโลก ในวันที่ 10 สิงหาคม จะเข้ามาอยู่ที่ 19 เท่า ซึ่งความสำคัญทางดาราศาสตร์นั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างมากครั้งหนึ่งที่ทำให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลกเฝ้าจับตาดูเป็นพิเศษ ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะศึกษามันในระยะใกล้ๆ เพราะดาวเคราะห์น้อยเก็บข้อมูลได้ากเนื่องจากเดาวเคราะห์น้อยไม่มีแสงสว่างในตัวของมันเองการถ่ายภาพจึงทำด้ยาก แต่เมื่อเฉียดเข้ามาใกล้โลกครั้งนี้กล้องโทรทัศน์บนโลกก็จะสามารถบันทึกภาพของมันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อได้เห็นรูปร่าง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของมันได้ ที่สำคัญคือจะสามารถนำมาวิเคราะห์ความแม่นยำของเครื่องมือต่างๆ ที่เรามีว่าจะสามารถบ่งบอกตำแหน่งของมันได้ถูกต้องมากแค่ไหน
ดาวเคราะห์น้อย ปกติเฉียดโลกอยู่บ่อยๆ ทางดาราศาสตร์จะจับตาข้อมูลต่างๆ ไว้ในลีสของนักดาราศาตร์ทั่วโลก เพื่อช่วยกันจับตามอง และศึกษา โดยในระยะหลาย สิบปีต่อจากนี้ยังไม่มีดาวเคราะห์น้อยดวงไหนที่จะมาเข้าใกล้หรือมาทำให้เกิดผลกระทบหรืออันตรายกับโลกได้ ในระยะต่ำกว่า 1.3 เท่าของโลกกัลดวงจันทร์ ซึ่งเป็นระยะที่ทางนักดาราศาตร์คำนวนไว้ว่าอาจจะส่งผลกระทบกับโลกได้