เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 11 มิถุนายน 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า ที่บริเวณลานอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการจัดพิธีทำบุญมุทิตา “คล้ายวันเกิด”ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญล้านนาไทย ซึ่งในปีนี้เป็นปีที่ 140 และเข้าสู่ปีที่ 141 แห่งการรำลึกถึงวีรกรรมของรูบาเจ้าศรีวิชัย ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ ต่อเมืองเชียงใหม่ 72cc0586646623606957cede42b94094.jpgโดยมี นายวีระพันธ์ ดีอ่อน นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆารวาส นำคณะศรัทธาสาธุชน และคณะเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีที่จัดขึ้นอย่างเนืองแน่น แม้ว่าในวันนี้ระหว่างการจัดพิธีจะมีฝนตกลงมาอย่างโปรยปราย โดยผู้เข้าร่วมพิธีต่างพร้อมใจกันนุ่งขาวห่มข่าว และแต่งกายด้วยชุดสุภาพ นำข้าวสารและอาหารแห้ง มาร่วมในการประกอบพิธีทำบุญตักบาตร bbed05100be5e880517e8f50993e55e6.jpgที่ได้มีการตั้งจุดใส่บาตรไว้โดยรอบของอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยจากนั้นในเวลา 06.29 น. จึงได้เริ่มพิธีการทำบุญตักบาตร พระสงฆ์จำนวน 219 รูป และประกอบพิธีทางศาสนา และการมอบวัตถุมงคลจำนวน 219 ชุด แก่ศรัทธาประชาชนผู้เข้าร่วมงานad1c0e39ced1bb35fec8d4d90f32eb06.jpgสำหรับครูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้รับการขนานนามว่า ตนบุญแห่งล้านนา โดยครูบาศรีวิชัย เดิมชื่อ “เฟือน” หรือ “อินท์เฟือน” บ้างก็ว่า “อ้ายฟ้าร้อง” f64b7b3a1e1438c9357fdf5df7affcbb.jpgเนื่องจากในขณะที่ท่านเกิด มีปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ของภาคกลาง) ขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ. 1240 เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน (ปัจจุบันคือตำบลศรีวิชัย) อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนa674261aec3fc54a1b674907134a3ed7.jpgผลงานที่เด่นมากของครูบาศรีวิชัยก็คือ การสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งครูบาศรีวิชัยได้รับคำเรียกร้องจากศรัทธาประชาชน ให้ช่วยดำริและจัดการเรื่องนี้ จึงเริ่มลงมือสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ เชิงดอยสุเทพด้านห้วยแก้ว 210d0a985dfda2ecef585666e4cb8e49.jpgโดยมี พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์ การสร้างถนนสายนี้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากวันหนึ่งๆ จะมีผู้คนช่วยทำงานประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 5,000 คน ถ้าคิดมูลค่าแรงงานเป็นเงินก็คงมากมายมหาศาลทีเดียว การสร้างทางสายนี้ใช้เวลา 5 เดือน กับ 22 วัน จึงแล้วเสร็จ และเปิดให้รถขึ้นลงได้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 247